เกี่ยวกับ agro trip

agro trip บล็อกนี้มีไว้แนะนำที่ท่องเที่ยวภาคเกษตร เทคนิคการดูแลพืชจากฟาร์มต่างๆ ในแต่ละพื้นที่ ที่ทีมงานได้ไปทำงานและหาข้อมูลมา

โรคที่สำคัญของสตว์เบอรี่

โรคที่สำคัญของสตอเบอรี่
1.โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส จะแสดงอาการใบหงิก ย่น หรือมีอาการใบด่าง ใบผิดรูปร่าง ใบม้วนขึ้น ต้นเตี้ย แคระแกรน
ข้อสั้น ทรงพุ่มมีใบแน่นขนาดใบเล็กกว่าปกติ ต้นพืชอ่อนแอ ชะงักการเจริญเติบโตและทำให้ผลผลิตลดลง
พบว่าแมลงพวกปากดูดเป็นพาหะนำโรค ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ และไส้เดือนฝอยบางชนิด โรคนี้มีวิธีการป้องกันโดย
คัดเลือกกล้าที่ไม่เป็นโรค ซึ่งเกิดจากต้นแม่พันธุ์ที่ได้จากวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อมาปลูก ทำการอบดินเพื่อทำลายไส้เดือนฝอยที่เป็นพาหะของโรคไวรัส การพ่นสารกำจัดแมลงพวกเพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็นพาหะของโรค เช้น สารอิมิดาคลอพริด และในปัจจุบันมีสารกลุ่มใหม่ที่สามารถพ่นเพื่อชลอการระบาดของเชื้อไวรัส ซึ่งสารเหล่านี้จะไปกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันในพืช เช่น ดีเวอร์เป็นสารสกัดจากเห็ดชนิดหนึ่งได้สารที่สำคัญสำหรับกระตุ้นการต้านไวรัสเมือนำมาผสมกับสารพวกอมิโนแอซิด และสาหร่าย จึงสามารถทำให้พืชแข็งแรงช่วยต้านทานเชื้อโรคและลดการระบาดของเชื้อได้ ทำให้สามารถให้ผลผลิตได้ปกติ แต่มีความจำเป็นต้องฉีดพ่นบ่อยๆ ทุก 10-15 วัน แต่หากพบว่ามีต้นที่แสดงอาการผิดปกติอย่างรุนแรงให้ขุดออกไปเผาทำลายทันที
และ
. โรคแอนแทรคโนส (โรคกอเน่า) เกิดจากเชื้อราคอลเล็คโตตริคัม collectotricum sp. จะแสดงอาการเริ่มจากแผลเล็กๆสีม่วงแดงบนไหล แล้วลุกลามไปตลอดความยาวของสายไหล แผลที่ขยายยาวมากขึ้นจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล
รอบนอกของแผลเป็นสีเหลืองอมชมพูซีด แผลที่แห้งเป็นสีน้ำตาลทำให้เกิดรอยคอดของไหลบริเวณที่เป็นแผล
เมื่อย้ายต้นไหลที่มีการติดเชื้อลงมาปลูก หากสภาพอากาศเหมาะสมกับการเจริญเติบโตของเขื้อ สตรอเบอรี่จะแสดงอาการใบเฉาและต่อมาจะเหี่ยวอย่างรวดเร็ว และจะพบว่าเนื้อเยื่อส่วนกอด้านในมีลักษณะเน่าแห้ง มีสีน้ำตาลแดง หรือบางส่วนเป็นแผลขีดสีน้ำตาลแดง และต้นจะตายในที่สุด
โรคนี้สามารถเกิดที่ผลสตรอเบอรี่ได้ด้วย พบอาการเป็นแผลลักษณะวงรี สีน้ำตาลเข้ม แผลบุ๋มลึกลงไปในผิวผล เมื่ออากาศชื้นสามารถมองเห็นหยดสีส้ม ซึ่งเป็นกลุ่มของสปอร์ขยายพันธุ์ของเชื่อราอยู่ในบริเวณแผล

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดเชื้อราเช่น โปรพิโคนาโซล โปรคลอราช ผสมดูโอ 400 ฉีดพ่นในแปลงไหลเพื่อป้องกันและกำจัดโรค

3.โรคใบจุด
เกิดจากเชื้อรารามูลาเรีย Ramularia โรคนี้จะปรากฎกับต้นแม่และต้นกล้า พบอาการระบาดรุนแรงในแปลงที่ปลูกกันมานาน การควบคุมโรคไม่ดีพอ อาการเริ่มแรกจะเห็นแผลขนาดเล็กสีม่วงแก่บนใบ
ต่อมาแผลขยายขนาด รอบแผลสีม่วงแดง กลางแผลสีน้ำตาลอ่อนถึงขาวหรือเทา แผลค่อนข้างกลมคล้ายตานก
สีอาจเปลี่ยนไปบ้างแล้วแต่ความรุนแรงของโรคและการตอบสนองของพืช อาการอาจปรากฎบนก้านใบ
หรือบางครั้งพบอาการที่ผลด้วย

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดเชื้อราเช่น ไดฟีโนโคนาโซล โปรคลอราช คาร์บอกซิล ผสมดูโอ 400 ฉีดพ่นในแปลงเพื่อป้องกันและกำจัดโรค

4. โรคเหี่ยว
เป็นผลมาจากอาการรากเน่าโคนเน่า ซึ่งเกิดจากเชื้อราไฟทอปทอร่า phytoptera จะพบการตายของราก โดยเริ่มจากปลายรากแล้วลุกลามต่อไป รากแขนงจะเน่าบริเวณท่อน้ำท่ออาหารเป็นสีแดง อาการเน่าสามารถลามขึ้นไปจนถึง
โคนต้น ถ้าหากอาการไม่รุนแรงพืชจะแสดงอาการเพียงแคระแกรน แต่ถ้าอาการรุนแรงจะเหี่ยวทั้งต้น ใบเป็นสีเหลืองจนถึงสีแดง และทำให้พืชตายได้ภายใน 2 - 3วัน เมื่อถอนต้นดูพบว่าก้านใบจะหลุดออกจากกอได้ง่ายท่อลำเลียงภายในรากถูกทำลายจนเน่าทั้งหมด

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยสารกำจัดเชื้อราเช่น ฟอสฟอรัสแอซิดแท้ที่ไม่ใช่ฟอสฟอริค แอซิด หรือ เมทาแลคซิล หรือควินโตซีน เป็นต้นโดยฉีดป้องกันจะดีที่สุด เพราะถ้าหากเป็นโรคนี้การรักษาเป็นไปได้ยากมาก